วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เอื้องไผ่ กล้วยไม้ดินพื้นถิ่นของไทย

  หากได้มีโอกาศท่องเที่ยวชมแหล่งธรรมชาติ ตามป่าเขาของไทย ทั้งป่าโปร่งและป่าดิบแล้ง ระหว่างทางที่เดินผ่านเราแทบจะไม่สังเกต กล้วยไม้ดินชนิดหนึ่ง ที่ขึ้นแซมปนกับวัชพืชข้างทาง บางแห่งก้อขึ้นอยู่กันอย่างหนาแน่น แต่ด้วยลักษณะต้นและใบที่ดูคล้ายกอหญ้าสูงๆ หากไม่ใช่ฤดูดอกแล้วเราคงเดินเลยผ่านไปอย่างไม่สนใจ เอื้องไผ่เป็นกล้วยไม้ดิน ที่พบได้ทุกภาคของประเทศไทยยกเว้นภาคกลาง และกระจายพันธุ์ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  อินเดีย และหมู่เกาะแปซิฟิกด้วย
Arundina graminifolia (D.Don) Hochr.  มีชื่อเรียกอื่นตามท้องถิ่นอีกเช่น ฮ้วนตักหงาย ม้วนตักหงาย  หญ้าจิ้มฟันควาย ยี่โถปีนัง  เอื้องไผ่มีลักษณะต้นยาวเป็นข้อปล้องผอมๆมีใบเรียวแหลมมองดูคล้ายใบหญ้า  ดอกออกที่ปลายต้นกลีบดอกกว้างสีขาวอมชมพู มีกลีบปากขนาดใหญ่ สีชมพู-บานเย็นเข้มสะดุดตา ดอกมีขนาดไม่ใหญ่มาก ขนาดประมาณ 2.5-3ซม.ออกดอกช่วงสิงหาคม-มีนาคม ในช่อดอกมี1-2ดอกแต่ถ้าเลี้ยงเป็นกอจะให้ดอกดกพรูสวยงามมาก กล้วยไม้ ชนิดนี้สามารถอยู่ในสภาพแดดจัดกลางแจ้งได้ชอบดินปลูกที่ชุ่มแต่ชื้นระบายน้ำได้ดี  
                  
       ********************************************************************
***********************************************************************  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น